top of page

Brain on Fire

My Month of Madness

Susannah Cahalan เขียน
นพ.ก้าวหน้า สุขสุชะโน แปล

สมองไหม้: Text

เรารู้จักตัวตนของเราดีแค่ไหนกัน?

Astronaut

ศ.ชาร์โคต์ (Jean-Martin Charcot, 1825-1893) ประสาทแพทย์และอาจารย์สาขาพยาธิกายวิภาคศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของวงการประสาทวิทยาฝรั่งเศส รวมถึงมีผลงานการศึกษาเป็นที่ยอมรับระดับโลก ผลงานเรื่องหนึ่ง คือ การศึกษาอาการแปลกประหลาดทั้งพฤติกรรมและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในผู้หญิงสองราย อาการที่มีความแปรปรวนทางอารมณ์เป็น ๆ หาย ๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ร่วมกับท่าทางที่บางครั้งคล้ายคลึงอาการชัก แต่บางครั้งก็ไม่ใช่


ผลการศึกษาครั้งนั้น ศ.ชาร์โคต์ลงความเห็นว่า สุขภาพทางใจของเธอควรได้รับการแก้ไข

Astronaut in Space

ลูกศิษย์ที่โด่งดังของ ศ.ชาร์โคต์ คือ ศ.ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigismund Scholomo Freud, 1856-1939) การศึกษาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจจนเกิดเป็นทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

New World

ลูกศิษย์อีกคนของ ศ.ชาร์โคต์ คือ ศ.บาบินสกี้ (Joseph Jules François Félix Babinski, 1857-1932) ศาสตราจารย์ทางด้านประสาทวิทยาอันเป็นที่รู้จักในนักเรียนแพทย์ทุกราย เนื่องจากจำเป็นต้องเรียนรู้การตรวจร่างกายทางระบบประสาทในขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า การตรวจบาบินสกี้


ศ.บาบินสกี้เองในตอนแรกเองเห็นด้วยกับข้อสรุปของอาจารย์ชาร์โคต์ แต่ภายหลัง เขาไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก ศ.บาบินสกี้คิดว่า เธอทั้งคู่น่าจะมีปัญหาภายในสมองหรือระบบประสาทมากกว่า

Science Museum Space Exploration

นับจากนั้น ดูเหมือนเส้นทางการศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาและระบบประสาทกลายเป็นทางแยกที่ออกห่างจากกัน ในเวลาต่อมาองค์ความรู้ทางจิตวิทยาและประสาทวิทยาก็แตกกิ่งก้านสาขาจนแทบจะเป็นคนละต้น ระเบียบการศึกษาวิจัยเหมือนต้องการเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างสองสาขานี้ออกจากกัน


และสำหรับเรื่องราวเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่กล่าวมานั้น เราไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้

Satellite

เดือนธันวาคม ปี ค.ศ.2004 ศ.ดัลมาว (Josep Dalmau) ได้เขียนรายงานผู้ป่วยหญิง 9 รายที่มีอาการทางสุขภาพจิต มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมในทุกวัน ทุกคนได้รับการรักษาด้วยยาลดการอักเสบในระบบประสาท ผู้ป่วย 8 รายมีอาการที่ดีขึ้น มีเพียงรายเดียวที่เสียชีวิต


ศ.ดัลมาวใช้เวลาอีกสองปีกว่าที่จะพิสูจน์พบสาเหตุของการอักเสบ ต้นเหตุที่เป็นตัวก่ออาการของโรค


ผลการศึกษาของเขาได้ลงในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำและนำไปสู่การเปลี่ยนมุมมองของประสาทแพทย์และจิตแพทย์ เส้นแบ่งที่เคยแยกสองสาขานี้กลับจางลงเรื่อย ๆ

Image by Greg Rakozy

ปริศนาเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อนนั้นแม้ไม่ได้ถูกพิสูจน์ด้วยการทดสอบทางห้องปฏิบัติการดั่งเช่นในปัจจุบัน แต่ก็เป็นเรื่องที่บอกกับเราว่า ในด้านหนึ่งที่เรามั่นใจว่าเราเองมีองค์ความรู้มากพอที่จะเข้าใจการทำงานภายในร่างกายของมนุษย์ จนหลายเรื่องไปถึงจุดที่แก้ไขและรักษาได้


แต่ในอีกด้าน มนุษยชาติกลับไม่รู้อะไรเสียเลยในกระบวนการของความรู้สึกนึกคิด จิตใต้สำนึก หรือตัวตนที่เราดำรงอยู่ด้วยซ้ำไป

สมองไหม้: Projects

“A fascinating personal experience about a disease of the brain and mind”
"โรคทางสมองและจิตใจที่ให้ประสบการณ์สุดตราตรึง"

Prof. Josep Dalmau, MD, PhD

สมองไหม้: Quote
bottom of page